ความรู้เกี่ยวกับการค้าขายผลไม้ไทยไปจีน

ประเทศจีนจัดว่าเป็นตลาดส่งออกผลไม้ลำดับต้นๆ ของเมืองไทยเลยก็ว่าได้ ยิ่งหลังจากที่มีการเปิดการค้าเสรีเกี่ยวกับผักผลไม้ระหว่างไทยจีนในกรอบ FTA ASEAN-จีน ก็ยิ่งส่งผลให้ระดับการขยายสินค้าเป็นไปอย่างรวดเร็ว สินค้าประเภทผักและผลไม้มีการส่งออกไปยังประเทศจีนเพิ่มมากขึ้นด้วยจำนวนประชากรและระบบเศรษฐกิจของประเทศจีนที่เจริญเติบโตก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่องบวกกับเรื่องของการลดภาษีนำเข้าผลไม้ให้เป็นไปตามข้อตกลองเหลือ 0% ส่งผลให้ประเทศไทยของเราค่อนข้างได้รับประโยชน์อย่างมากจากการส่งผลไม้เมืองร้อนไปสู่ประเทศจีน

ความรู้ที่น่าสนใจด้านการค้าขายผลไม้จากไทยไปจีน

ปัจจุบันนี้รัฐบาลของจีนได้มีการอนุญาตให้นำผลไม้ไทยทั้งหมด 23 สามารถส่งเข้าไปยังประเทศจีนได้ประกอบไปด้วย ทุเรียน, มังคุด, ลำไย, กล้วยไข่, ลิ้นจี่, มะพร้าว, มะละกอ, มะเฟือง, มะม่วง, ฝรั่ง, ชมพู่, เงาะ, สับปะรด, ละมุด, เสาวรส, น้อยหน่า, มะขาม, ขนุน, สละ, ลองกอง, ส้มเขียนหวาน, ส้ม และส้มโอ ซึ่งเมื่อมีการเปรียบเทียบดูแล้วผลไม้ที่ได้รับความนิยมอย่างมากจากชาวจีนก็คือ ทุเรียน, ลำไย, มังคุด, กล้วยไข่, ชมพู่ทับทิมจันทร์, มะม่วงน้ำดอกไม้, เงาะโรงเรียน, ส้มโอ, มะขามหวาน เป็นต้น หรือจะเป็นผลไม้แปรรูปหลายๆ ชนิดก็ได้รับความนิยมจากชาวจีนไม่น้อย อาทิ ลำไยอบแห้ง, ทุเรียนทอดกรอบ, ทุเรียนอบกรอบ, กล้วยอบกรอบ, ขนุนอบกรอบ, สับปะรดอบกรอบ, มะขามหวานแกะเมล็ด เป็นต้น ผลไม้เหล่านี้ถือว่าเป็นผลไม้เชิดหน้าชูตาที่เมืองไทยสามารถส่งออกไปขายยังประเทศจีนได้แบบสบายๆ โดยช่องทางการส่งออกจากเมืองไทยไปยังประเทศจีนส่วนมากจะผ่านช่องทาง ฮ่องกง – เซินเจิ้น – กวางโจว สาเหตุก็มาจากการดำเนินการด้านพิธีการทางศุลกากรในเส้นทางนี้ค่อนข้างสะดวกสบาย มีความรวดเร็ว ค่าใช้จ่ายไม่แพง เมื่อผ่านด่านศุลกากรเรียบร้อยผลไม้ของไทยก็จะถูกนำไปรวมกันไว้ที่ตลาดกลางผลไม้เจียงหนาน จากนั้นก็จะมีการกระจายออกไปตามพื้นที่ต่างๆ ของประเทศจีน ส่วนเรื่องของรูปแบบการซื้อขายผลไม้ในตลาดกลางของจีนยังเป็นการใช้ระบบฝากขาย ที่ถือว่าเป็นวิธีการโบราณโดยต้องอาศัยความไว้เนื้อเชื่อใจกันระหว่างผู้ส่งออกไทยกับผู้นำเข้าจีน จะไม่มีการเปิด L/C

ผู้นำเข้าก็จะมีการนำผลไม้ไปขายต่อให้กับพ่อค้าจีนตามมณฑลและเมืองต่างๆ ในลักษณะเงินเชื่อ ข้อดีก็คือ ผลไทยสามารถอาศัยอิทธิพลตัวกลางชาวจีนเพื่อเข้าสู่ตลาดจีนโดยไม่จำเป็นต้องสร้างเครือข่ายเอง แต่ข้อเสียคือผลไม้ไทยจะตกอยู่ในกลไกที่พ่อค้าจีนเป็นคนกำหนดทั้งราคาซื้อขาย ประเภทการนำเข้าและปริมาณการขาย